พระที่บ้าน เก็บไว้นานแล้ว บางองค์ไปทำบุญ ท่านให้มา
บางองค์ญาติผู้ใหญ่ให้มาเลยเอามาโชว์ให้ดู......
ผมชอบพระ เพราะพระมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนกัน
ข้อมูลนี้ก๊ดีเหมือนกันครับ
นักโบราณคดีได้ทำการแบ่งแยกพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยออกเป็น 5 หมวด
ตามลักษณะที่ค้นพบ ดังนี้คือ
1. หมวดใหญ่ มีลักษณะที่สำคัญที่ปรากฏพอประมวลได้คือ พระพักตร์เป็นรูปไข่ พระรัศมีเป็นแบบเปลวเพลิง ขมวดพระเกสาเล็กแหลม พระขนงโก่ง บางครั้งเป็นจุดแหลมกลางพระนลาฏ พระนาสิกงุ้ม ไม่มีไรพระศก พระโอษฐ์บางเล็ก มีปลายนิ้วพระหัตถ์ทั้ง 4 ไม่เสมอกัน พระหนุเป็นปมมีเปลวชายจีวรยาวถึงพระนาภีทำเป็นลายเขี้ยวตะขาบ มีรอยขีดบนพระศอ ไหวง่าย งามสง่า ฐานเป็นหน้ากระดานเรียบไม่มีบัวรองรับ มักนั่งขัดสมาธิราบ
2. หมวดกำแพงเพชร มีลักษณะโดยทั่วไปเหมือนในหมวดใหญ่ แต่มีลักษณะของวงพระพักตร์ตอนบนจะกว้างกว่าตอนล่างมากอย่างสังเกตเห็นได้ชัด พบที่จังหวัดกำแพงเพชร
3. หมวดพระพุทธชินราช มีลักษณะที่สำคัญที่ปรากฏพอประมวลได้คือ พระพักตร์รูปไข่ มีเปลวบนยอดพระเกตุค่อนข้างสูงกว่าหมวดใหญ่มาก พระพักตร์ค่อนข้างกลม นิ้วพระหัตถ์ทั้ง 4 ยาวเสมอกัน บางครั้งมีฐานบัวรองด้วย
4. หมวดพิษณุโลกชั้นหลัง มีลักษณะทรวดทรงยาว ดูไม่มีชีวิตจิตใจ จีวรมีลักษณะแข็ง ชายจีวรมักทำเป็นรองอ ๆ เหมือนกับขมวดม้วนของชายผ้า ส่วนใหญ่มักทำเป็นพระยืนสร้างขึ้นหลังจากที่สุโขทัยตกเป็นเมืองขึ้น ของอยุธยาแล้ว
5. หมวดเบ็ดเตล็ดหรือหมวดวัดตะกวน หมวดนี้มีลักษณะเป็นแบบผสมคือ การผสมระหว่างศิลปะแบบเชียงแสน แบบลังกา และแบบสุโขทัยเข้าด้วยกัน มีลักษณะที่สำคัญที่ปรากฏพอประมวลได้คือ พระพักตร์กลม มีรัศมีแบบลังกา บางองค์มีชายผ้าสังฆาฏิสั้น พระนลาฏแคบจากลักษณะของพระพุทธรูปดังกล่าวข้างต้นสามารถประมวลสรุปเป็น ลักษณะที่สำคัญ โดยภาพรวมดังนี้คือ พระพักตร์เป็นรูปไข่ พระเกตุมาลาเป็นเปลวรัศมี ขมวดพระเกสาเล็กเป็นวงก้นหอย พระกรรณยาว พระขนงโก่ง พระหนุเป็นปม พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์เล็กและบาง พระโอษฐ์อมยิ้ม พระอังสาใหญ่ ชายจีวรยาวลงมาถึงพระนาภี ปลายเป็นเขี้ยวตะขาบ เปลือกพระเนตรอวบอูมมีลักษณะดุจกลีบบัว ไม่มีไรพระศก ชอบทำปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิราบ และยังพบพระพุทธรูปปางลีลาอีกด้วย
พระ พุทธรูปในสมัยสุโขทัย ถือได้ว่ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัวถึงแม้ว่าจะมีการผสมผสานกันจากศิลปะหลายแหล่ง แต่ก็สามารถนำมาประยุกต์เป็นศิลปะแบบสุโขทัยอันมีความสวยสดงดงาม อ่อนช้อย เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวในที่สุด และพระพุทธรูปในสมัยนี้ก็ยังเป็นแม่แบบของการสร้างพระพุทธรูปในสมัยต่อ ๆ มาอีกด้วย
ที่มา : เรื่อง ชำเลืองมองลักษณะพระพุทธรูปไทยสมัยต่างๆ โดยพระมหาสุรศักดิ์ สุรเมธี วัดอิสาน นครราชสีมา
ตามลักษณะที่ค้นพบ ดังนี้คือ
1. หมวดใหญ่ มีลักษณะที่สำคัญที่ปรากฏพอประมวลได้คือ พระพักตร์เป็นรูปไข่ พระรัศมีเป็นแบบเปลวเพลิง ขมวดพระเกสาเล็กแหลม พระขนงโก่ง บางครั้งเป็นจุดแหลมกลางพระนลาฏ พระนาสิกงุ้ม ไม่มีไรพระศก พระโอษฐ์บางเล็ก มีปลายนิ้วพระหัตถ์ทั้ง 4 ไม่เสมอกัน พระหนุเป็นปมมีเปลวชายจีวรยาวถึงพระนาภีทำเป็นลายเขี้ยวตะขาบ มีรอยขีดบนพระศอ ไหวง่าย งามสง่า ฐานเป็นหน้ากระดานเรียบไม่มีบัวรองรับ มักนั่งขัดสมาธิราบ
2. หมวดกำแพงเพชร มีลักษณะโดยทั่วไปเหมือนในหมวดใหญ่ แต่มีลักษณะของวงพระพักตร์ตอนบนจะกว้างกว่าตอนล่างมากอย่างสังเกตเห็นได้ชัด พบที่จังหวัดกำแพงเพชร
3. หมวดพระพุทธชินราช มีลักษณะที่สำคัญที่ปรากฏพอประมวลได้คือ พระพักตร์รูปไข่ มีเปลวบนยอดพระเกตุค่อนข้างสูงกว่าหมวดใหญ่มาก พระพักตร์ค่อนข้างกลม นิ้วพระหัตถ์ทั้ง 4 ยาวเสมอกัน บางครั้งมีฐานบัวรองด้วย
4. หมวดพิษณุโลกชั้นหลัง มีลักษณะทรวดทรงยาว ดูไม่มีชีวิตจิตใจ จีวรมีลักษณะแข็ง ชายจีวรมักทำเป็นรองอ ๆ เหมือนกับขมวดม้วนของชายผ้า ส่วนใหญ่มักทำเป็นพระยืนสร้างขึ้นหลังจากที่สุโขทัยตกเป็นเมืองขึ้น ของอยุธยาแล้ว
5. หมวดเบ็ดเตล็ดหรือหมวดวัดตะกวน หมวดนี้มีลักษณะเป็นแบบผสมคือ การผสมระหว่างศิลปะแบบเชียงแสน แบบลังกา และแบบสุโขทัยเข้าด้วยกัน มีลักษณะที่สำคัญที่ปรากฏพอประมวลได้คือ พระพักตร์กลม มีรัศมีแบบลังกา บางองค์มีชายผ้าสังฆาฏิสั้น พระนลาฏแคบจากลักษณะของพระพุทธรูปดังกล่าวข้างต้นสามารถประมวลสรุปเป็น ลักษณะที่สำคัญ โดยภาพรวมดังนี้คือ พระพักตร์เป็นรูปไข่ พระเกตุมาลาเป็นเปลวรัศมี ขมวดพระเกสาเล็กเป็นวงก้นหอย พระกรรณยาว พระขนงโก่ง พระหนุเป็นปม พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์เล็กและบาง พระโอษฐ์อมยิ้ม พระอังสาใหญ่ ชายจีวรยาวลงมาถึงพระนาภี ปลายเป็นเขี้ยวตะขาบ เปลือกพระเนตรอวบอูมมีลักษณะดุจกลีบบัว ไม่มีไรพระศก ชอบทำปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิราบ และยังพบพระพุทธรูปปางลีลาอีกด้วย
พระ พุทธรูปในสมัยสุโขทัย ถือได้ว่ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัวถึงแม้ว่าจะมีการผสมผสานกันจากศิลปะหลายแหล่ง แต่ก็สามารถนำมาประยุกต์เป็นศิลปะแบบสุโขทัยอันมีความสวยสดงดงาม อ่อนช้อย เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวในที่สุด และพระพุทธรูปในสมัยนี้ก็ยังเป็นแม่แบบของการสร้างพระพุทธรูปในสมัยต่อ ๆ มาอีกด้วย
ที่มา : เรื่อง ชำเลืองมองลักษณะพระพุทธรูปไทยสมัยต่างๆ โดยพระมหาสุรศักดิ์ สุรเมธี วัดอิสาน นครราชสีมา